ต้องกราบขอโทษที่ห่างหายกันไปเกือบ 3 เดือน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความและรูปแบบการวิเคราะห์สถานการณ์ราคาเหล็ก ที่เจาะลึกและชัดเจนตามสไตล์ VRSteel รอบนี้เลยขอจัดหนักด้วยมุมมองเหล็กโลกกันซะหน่อย
สืบเนื่องจากราคาเหล็กที่มีความผันผวนอย่างเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้ใช้เหล็กและกลุ่มผู้รับเหมาต่างได้รับผลกระทบกันเป็นวงกว้าง ความแปรปรวนของราคาสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างหนัก โครงการใหญ่ๆหลายแห่งจำเป็นต้องเลื่อน บางแห่งก็ยกเลิกการลงทุนไปเลย อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้า VRSteel จำนวนไม่น้อยที่ติดตามและรู้ทันแนวโน้มราคาก็ยังคุมต้นทุนได้ทันเหตุการณ์ หลายท่านสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างน่าทึ่ง ซึ่งในส่วน VRSteel เองก็ได้สนับสนุนการล็อคราคาเหล็กให้หลายโครงการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน (ติดต่อเจ้าหน้าที่รับเงื่อนไขการจองและล็อคราคาเหล็กที่ www.VRSteel.com โดยไม่จำกัดปริมาณได้ทุกวัน)
อนึ่ง เท่าที่ทาง VRSteel ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เกณฑ์ของราคามีความแปรปรวนอิงสถานการณ์น้ำมันค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผมพวงต่อเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ช่วงแรก ที่ทำให้โอเปคมีนโยบายควบคุมปริมาณน้ำมัน ต่อเนื่องมาถึงเหตุสงครามความขัดแย้ง การบอยคอตของกลุ่มประเทศยุโรปทำให้รัสเซียขู่เรื่องการส่งพลังงาน ซึ่งเป็นการกระตุ้น demand น้ำมันมากขึ้นไปอีก
นอกเหนือจากสถานการณ์น้ำมันแล้ว ล่าสุดที่หลายเมืองใหญ่ในจีนก็ได้ปิดท่าเรือสำคัญ โดยข้ออ้างเรื่องการควบคุมโรคระบาด แต่การปิดครั้งนี้ก็ช่างเหมาะเจาะกับช่วงเวลาตึงเครียดระหว่างจีนทางอเมริกาพอดี หรือทางรัฐบาลจีนก็อาจจะอยากแสดงให้โลกเริ่มเห็นว่า หากโรงงานโลกอย่างจีนระงับการส่งสินค้าขึ้นมา โลกจะปั่นป่วนขนาดไหน เฉพาะแค่ยุโรปกับอเมริกาเองที่ผลิตสินค้าด้วยการพึ่งหาชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบจากจีนแทบทั้งสิ้น จะสามารถคุมสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศได้อย่างไร
กลับมาที่เรื่องเหล็กในประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อและสถานการณ์การอ่อนค่าของค่าเงิน ที่ล่าสุดก็สูงขึ้นเป็นปรากฏการณ์ ทำให้ราคาเหล็กไม่สามารถลดลงได้ แม้จีนจะปิดท่าเรือจนทำให้วัตถุดิบบางส่วนถูกขนมาขายในน่านน้ำไทยก็ตาม วัตถุดิบราคาถูกก็โดนค่าเงินทำ offset ไปเรียบร้อย ในส่วนค่าขนส่งและโลจิสติกส์ เมื่อไปบวกต้นทุนพลังงาน ทำให้เรามองว่าราคาเหล็กน่าจะยังไม่มีแนวโน้มปรับลดลงในระยะสั้น
ด้วยสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงรายวันมีความไม่แน่นอน เราจึงอยากให้สมาชิกมองเห็นแนวโน้มอนาคตบนเงื่อนไขความขัดแย้งของขั้วอำนาจโลกเพิ่มเติมกันอีกหน่อย จากข้อเท็จจริงที่ว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน ขั้วอำนาจหลักในโลกมีเป็นลักษณะกลุ่มก้อนของประเทศที่มีข้อตกลงผลประโยชน์ร่วมกัน ประเทศผู้ชนะสงครามนำโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรในรูปแบบ Trade Union ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มีความแข็งแกร่งในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการทหาร ด้านการผลิต ด้านเทคโนโลยี และด้านทรัพยากร โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในการสร้างอำนาจต่อรอง ซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่ตกลง
ในที่นี้เราขอยกตัวอย่าง กลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD องค์กรดั้งเดิมซึ่งถูกพัฒนามาจาก Marshall Plan หรือ แผนมาร์แชล (หรือชื่อทางการคือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป) ซึ่งประเทศสมาชิกก็เป็นเสมือนผู้ให้คำมั่นในความร่วมมือ เนื่องจากรับความช่วยเหลือตั้งแต่การพัฒนาพื้นฐานจากความเสียหายหนักของสงคราม
โดยเมื่อดูรายชื่อสมาชิก OECD 38 ประเทศ เปรียบเทียบกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก (NON-OECD) เราจะสังเกตได้ทันทีว่า กลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก OECD คือกลุ่มประเทศขั้วอำนาจหลักที่มีนโยบายการค้าและการเมืองโลกในทิศทางเดียวกันกับประเทศผู้จัดตั้ง ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ในทางตรงข้าม กลุ่มประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก (NON-OECD) จะประกอบด้วยหลายประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
จากที่ VRSteel ได้ไปค้นหาข้อมูลมา ก็ไปพบว่า แม้แต่องค์กรอย่าง OECD เองก็มีการเก็บรวบรวมตัวเลขการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กในโลกด้วย เราจึงทำข้อสังเกตุจากข้อมูลตามตารางด้านล่าง ที่แสดงกำลังการผลิตเหล็กเปรียบเทียบปี 2000 กับปี 2019 ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก OECD และ NON-OECD
Steelmaking capacity | Year 2000 (M.Tons) | Year 2019 (M.Tons) |
OECD Countries | 605.7 | 641.4 |
Non-OECD Countries | 526.6 | 1,721.1 |
ที่มา : OECD.org
จากตารางจะเห็นได้ชัดว่า Steelmaking capacity ของเหล็กในประเทศกลุ่ม OECD แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในระยะ 20 ปี ในขณะที่กลุ่ม NON-OECD มีการเพิ่มกำลังการผลิตจนแซงหน้ากลุ่มอำนาจเก่าเกือบ 3 เท่าตัว ซึ่งกลุ่ม NON-OECD ประกอบด้วยประเทศจีนและประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 และ 3 ของโลกรวมอยู่ด้วย และแค่ 2 ประเทศนี้ก็มีกำลังการผลิตกว่า 55% ของทั้งโลกไปแล้ว
ข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งหมดนี้ ทำให้ทาง VRSteel ยกขึ้นมาให้สมาชิกของเราช่วยกันคิด และอาจจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ เช่น หากขั้วอำนาจใหม่ถูกท้าทาย สมดุลทรัพยากรและกำลังการผลิตจะหายไปหรือไม่ หลายประเทศที่เดิมเคยค้าขายผ่านระบบเงินดอลล่าห์และยูโร อาจกำลังพิจารณาที่จะปรับสัดส่วนเพิ่มสกุลเงินหยวนและรูเบิล
หรือในทางกลับกัน ถ้าเกิดข้อพิพาทหรือสงครามขึ้นมาในอนาคตอันใกล้ สินค้า(เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็ก)ของประเทศขั้วอำนาจใหม่อาจถูกบอยคอต ราคาเหล็กระหว่าง 2 กลุ่มขั้วอำนาจอาจแตกต่างกันมหาศาลก็เป็นไปได้เช่นกัน (ปัจจุบันราคา Billet CFR China กับ CFR Turkish port ต่างกัน 120 USD/TON) อนึ่ง ขอให้ผู้อ่านลองทบทวนลำดับเหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของราคา เทียบกับกรณีข้าวสาลี แร่นิเกิล ปุ๋ยยูเรีย และก๊าซธรรมชาติ เราอาจจะได้เห็นเหล็กเป็นอีกรายการที่จะตามมาก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ เงื่อนไขความขัดแย้งนี้จะสร้างความแปรปรวนต่อตลาดเหล็กโลกไปอีกนานเลยทีเดียว
พบกันใหม่ครั้งหน้า กับบทความในรูปแบบที่คั้นออกมาสดๆ ไม่เหมือนใครแน่นอน กดติดตามเพจ VRSteel รอไว้ได้เลย
และสอบถามเงื่อนไขการรับราคาที่ดีจนจบโครงการได้ที่ 02-450-3355-6 หรือ
Copyright © 2021 VRSteel. All rights reserved.