VRSteel | บทความ | เช็คราคาเหล็กออนไลน์ | ผู้รับเหมา | โครงการใหญ่ | ความพร้อมเรื่องเหล็ก | เศรษฐกิจ | แนวโน้มราคาเหล็ก | COVID

0

เมนู
บทความน่ารู้

COVID เงินเฟ้อ เศรษฐกิจ แนวโน้มเหล็ก ปี 2565

13/01/2022, 16:03:03
แชร์

สวัสดีปีขาล เริ่มต้นปี พ.ศ.2565 กับการวิเคราะห์สถานการณ์เหล็กในสไตล์ VRSteel เดือนนี้มาเริ่มอุ่นเครื่องกับสัญญาณล่าสุด การแพร่กระจายของ COVID-19 สายพันธุ์ OMICRON ที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะมีสายพันธุ์อื่นเพิ่มอีกหรือไม่ และอีกสัญญาณการออกตัวของผู้คุมกติกาการเงินของโลก ซึ่งก็คือธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ที่ล่าสุดได้แถลงแนวทางการตัดการอุดหนุนทางการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความชัดเจนด้วยการเพิ่มดอกเบี้ยเชิงนโยบาย ถือเป็นการยกระดับการควบคุมสภาวะ ”เงินเฟ้อ” หนึ่งในผลพวงที่เกิดจากวิกฤต COVID-19 ที่สร้างความปั่นป่วนกับเงินในกระเป๋าตังค์ของคนไทยเรา และสะเทือนธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่อย่างกว้างขวางเป็นประวัติการณ์

การสร้างความเข้าใจในสัญญาณเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจมักจะส่งผลถึงราคาเหล็กทั่วโลก และในครั้งนี้ VRSteel จึงได้พยายามผูกเรื่องราวความเกี่ยวข้องระหว่างเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กับสภาวะเงินเฟ้อ ที่กระทบมาถึงสภาวะเหล็กแพง นำเสนอให้สมาชิก VRSteel และผู้อ่านบทความทุกท่านได้ทำความเข้าใจอย่างง่าย เพื่อผู้ใช้เหล็กทุกท่านจะได้เตรียมรับมือกันต่อไป 


Covid-19 ต้นเหตุของการชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง การระบาดของเชื้อไวรัสกระทบการหมุนเวียนสินค้า เริ่มจากการทำให้ห่วงโซ่การผลิตมีปัญหา เมื่อปริมาณการติดเชื้อสูงขึ้น ภาครัฐจำเป็นต้องออกมาตรการการควบคุมการเดินทางเพื่อลดการสัมผัส จำกัดการแพร่กระจายผู้ติดเชื้อ เหตุนี้ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเริ่มขาดแคลนแรงงาน สินค้าหลายชนิดขาดตลาด และขณะที่สินค้าหลายชนิดเป็นสินค้าที่เป็นองค์ประกอบ กล่าวคือเป็นปัจจัยในการผลิตของสินค้าอีกหลายชนิด การขาดแคลนสินค้าจึงกระทบเป็นทอดและเป็นวงกว้างอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนั้น การระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงแรกยังกระทบกิจกรรมการเดินทางและการขนส่ง ในช่วงแรกกิจกรรมการท่องเที่ยวหายไปอย่างกะทันหัน กิจกรรมการบินหายไปมากกว่า 90% เรือขนส่งขนาดใหญ่ไม่สามารถเทียบท่าเพื่อขนสินค้าได้ ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันที่มีอยู่ในขณะนั้นเหลือล้นเกินความต้องการ เกิดเหตุการณ์ราคาน้ำมันดิบร่วงจนติดลบ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) จึงจำกัดการผลิตเพื่อตรึงราคาเชื้อเพลิง 


การผลิตน้ำมันที่มีอยู่ในขณะนั้นเหลือล้นเกินความต้องการ เกิดเหตุการณ์ราคาน้ำมันดิบร่วงจนติดลบ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC)


ต่อมาเมื่อสถานการณ์การขนส่งเริ่มกลับมาดีขึ้น แต่ OPEC ยังกังวลต่อความไม่แน่นอน การตรึงราคาน้ำมันก็เลยเป็นผลให้ราคาเชื้อเพลิงกลับพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว น้ำมันแพงทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นอย่างมาก ตันทุนการขนส่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนสินค้า การขนส่งที่ล่าช้าทำให้สินค้าขาดแคลน เกิดการกักตุนสินค้าและขายเก็งกำไรมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้กระทบภาระค่าครองชีพของคนทั่วไปอย่างมาก และเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถจ่ายได้ ปริมาณการบริโภคก็เลยลดตามไป ปัญหาของผู้บริโภคส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา 

ตามกลไกราคาตลาด เมื่อขาดกำลังซื้อ รายได้ภาคธุรกิจก็ลดลงตามไป ในขณะที่ต้นทุนการบริหารและค่าใช้จ่ายต่างๆยังเท่าเดิม ยอดขายที่ลดลงก็ส่งผลทางตรงต่อต้นทุนของหน่วยการผลิต อีกทั้งผู้ผลิตหลายประเภทสินค้าก็ยังจำเป็นต้องรักษาแรงงานฝีมือเอาไว้อยู่ แต่เมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อ ภาระค่าใช้จ่ายก็เป็นสาเหตุของการเริ่มขาดสภาพคล่อง ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาขายต่อเนื่อง การส่งต่อภาระต้นทุนไปสู้ผู้บริโภคตามกลไกราคาทำให้ภาพวงจรเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วให้เลวร้ายลงอีก เนื่องจากผู้บริโภคก็ขาดกำลังซื้อ เมื่อใกล้ภาวะ Stagflation การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในประเทศก็เสี่ยงภาวะวิกฤต

เมื่อมองในมุมของภาครัฐ สถานการณ์เหล่านี้นอกจากส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและรายได้แล้ว ยังมีกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศด้วย ภาครัฐจึงจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆมากมาย แต่เนื่องจากการระบาดมีหลายระลอก กินระยะเวลานาน อีกทั้งไม่ยืดเยื้อจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ ปริมาณเงินที่ใช้อัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมหาศาลที่ไม่สามารถสร้างการหมุนเวียนของวงจรเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย ก็ซ้ำเติมให้ระดับหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 

สถานการณ์บานปลายจนภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น หลายธุรกิจเริ่มประสบปัญหา เกิดความเสี่ยงสูงในการดำเนินกิจการ เมื่อบางธุรกิจเริ่มปิดตัวลง ปัญหาภาระหนี้ก็ส่งผลกระทบต่อภาคการเงิน กลุ่มธนาคารเริ่มคุมเข้มเรื่องสภาวะหนี้ ลดการปล่อยกู้และช่วยเหลือลูกค้าในหลายธุรกิจ ทั้งหมดยิ่งซ้ำเติมให้ภาคธุรกิจอ่อนแอลงไป สังเกตุได้ชัดคือกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อย SME


ปัญหาภาระหนี้ก็ส่งผลกระทบต่อภาคการเงิน กลุ่มธนาคารเริ่มคุมเข้มเรื่องสภาวะหนี้ ลดการปล่อยกู้และช่วยเหลือลูกค้าในหลายธุรกิจ


ทั้งหมดข้างต้นเป็นภาพรวมการหมุนเวียนของปัญหา COVID ที่กระทบเศรษฐกิจ แต่ปัญหาเหล่านี้ได้ก็ยังไม่สามารถแก้ได้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดยังไม่หมดไป ปัญหา supply shortage ยังคงอยู่ การอุดหนุนทางการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพในสหรัฐและยุโรปก็สร้างปัญหาเงินเฟ้ออย่างหนัก ในขณะที่เงินบาทอ่อนค่าเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจอ่อนแอลงเรื่อยๆ ต้นทุนสินค้านำเข้ารวมถึงวัตถุดิบและน้ำมันจากต่างประเทศก็สูงขึ้นแปรผันไปตามค่าเงิน ทั้งหมดนี้ คือปัจจัยราคาสินค้าที่กระทบต้นทุนการผลิต กระทบต้นทุนการก่อสร้าง ซึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กในไทย เป็นลักษณะอุตสาหกรรมที่นำวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูป เนื่องจากไทยไม่มีแหล่งวัตถุดิบ และไม่มีกระบวนการผลิตต้นน้ำ ราคาเหล็กในไทยจึงปรับตัวสูงขึ้นตามสภาวะต้นทุนนั่นเอง

หากในทางกลับกัน อุตสาหกรรมก่อสร้างในจีนกลับไม่เติบโต สาเหตุเนื่องจากกรณีฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจีนออกมาตรการหลายอย่างเพื่อระงับการซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร ทำให้ปริมาณการก่อสร้างโครงการใหม่ๆลดลง และเนื่องจากนโยบาย ZERO COVID ของจีน ก็ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ค่อยมีความคึกคัก แต่อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กในจีนกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่เปิดต้นปี ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงยังคงอยู่ อีกทั้งรัฐบาลจีนก็มีมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ผู้ผลิตขนาดใหญ่หลายรายต้องหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงโรงงาน แนวโน้มราคาเหล็กในจีนจึงมีความไม่แน่นอนในหลากหลายประการ 

ในปีนี้จะเกิดอะไรขึ้น หลายสาเหตุแต่มีความเป็นไปได้ หากดอกเบี้ยภาคธนาคารปรับเพิ่มขึ้น 4-5% ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบแค่ไหนต่อต้นทุนการบริหาร (fixed cost) ในมุมของสภาพคล่องและเงินหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้างคงจะกระทบหนัก ธุรกิจจะสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือหาก OPEC ยังต้องการตรึงราคาน้ำมัน แม้ว่า supply chain จะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลแล้ว กิจกรรมการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอาจดันราคาน้ำมันสูงให้ขึ้นอีก ราคาเหล็กจะยังยืนอยู่ที่ระดับปัจจุบันได้หรือไม่ 


อย่างไงก็ตาม เราหวังว่าปัญหาและสถานการณ์การแพร่เชื้อจะหมดไปโดยเร็ว หวังว่า supply และ demand จะกลับมา เมื่อแหล่งผู้ผลิตและผู้บริโภครายใหญ่เช่นจีนกลับมาเปิดประเทศเต็มรูปแบบ เราน่าจะได้เห็นความคึกคักและสมดุลราคาที่ชัดเจนขึ้น โดย VRSteel จะกลับมาอัพเดทและนำเสนอการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้สมาชิก VRSteel และผู้อ่านบทความทุกท่านเตรียมความพร้อม รู้เท่าทันและได้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โปรดติดตามและแชร์บทความนี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบกับบทความครั้งหน้าในเดือนถัดไปแบบไม่ซ้ำใครบนทุกช่องทางของ VRSteel.com

และสอบถามเงื่อนไขการรับราคาที่ดีจนจบโครงการได้ที่ 02-450-3355-6 หรือ


#เหล็ก
#ผู้รับเหมา
#บทความ
#เช็คราคาเหล็ก
#โครงการขนาดใหญ่
#ไดนามิกไพรซ์
#โครงการขนาดเล็ก

Copyright © 2021 VRSteel. All rights reserved.

กลับสู่ด้านบน