VRSteel | บทความ | เช็คราคาเหล็กออนไลน์ | ผู้รับเหมา | โครงการใหญ่ | ความพร้อมเรื่องเหล็ก | เทคนิค | ทริค | ซื้อเหล็ก | สภาพคล่อง | บัตรเครดิต | เพิ่มโอกาส | ทางรอด | เทรนด์ | Dynamicprice

0

เมนู
บทความน่ารู้

วิเคราะห์ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น กระทบราคาเหล็กเท่าไหร่

22/01/2024, 14:13:26
แชร์


วิเคราะห์ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น กระทบราคาเหล็กเท่าไหร่

  • รู้หรือไม่ แนวโน้มค่าไฟฟ้าที่เตรียมตัวปรับขึ้น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ผู้ผลิตเหล็กก่อสร้างทั้งประเภทรีดร้อน และรีดเย็น และส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ไฟประเภท”กิจการขนาดใหญ่” ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยมากกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน
  • การปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) จาก 20.48 สตางค์/หน่วย เป็น 39.72 สตางค์/หน่วย ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง 5.8% ซึ่งจากเดิม อัตราค่าไฟฟ้าผันแปรที่ กกพ. มีมติปรับขึ้นในเดือน ม.ค.-เม.ย. จะเท่ากับ 89.55 สตางค์/หน่วย 
  • โดยหากภายหลังดือน เมษายน 2567 ค่า Ft กลับมาที่ 89.55 สตางค์/หน่วย จะทำให้ต้นทุนไฟฟ้าทีความเปลี่ยนแปลงถึง 20.8% จากสิ้นปี 2566 ทันที 
  • จากข้อมูลประสิทธิการผลิตที่ทาง VRSteel ได้มา เราสามารถคำนวนปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการกระบวนการผลิตเหล็กต่อตัน อ้างอิงการผลิตเฉลี่ย 60% ของกำลังเครื่องจักรรวมในโรงงานเหล็กหลากหลายประเภท ดังนี้ 
    • โรงงานเหล็กเส้นมีเตาหลอม ใช้ไฟฟ้าประมาณ 730 kWh/Ton มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 2.42 บาท/Kg
    • โรงงานเหล็กแผ่นรีดร้อนมีเตาหลอม ใช้ไฟฟ้า 790 kWh/Ton มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 2.62 บาท/Kg
    • โรงงานเหล็กรูปพรรณรีดร้อนมีเตาหลอม ใช้ไฟฟ้า 680 kWh/Ton มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 2.25 บาท/Kg
    • โรงงานเหล็กท่อเหล็กชนิดมีตะเข็บ ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 70 kWh/Ton มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 0.24 บาท/Kg
  • ซึ่งหากคำนวนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่า Ft ต้นปี 2567 ที่ 5.8% อาจจะดูว่ากระทบต้นทุนราคาเหล็กไม่มาก ดังนี้
    • เหล็กเส้นกลุ่มใช้เตาหลอม ราคาเพิ่มขึ้น 0.14 บาท/ Kg
    • เหล็กแผ่นรีดร้อน ราคาเพิ่มขึ้น 0.15 บาท/ Kg
    • เหล็กรูปพรรณรีดร้อน ราคาเพิ่มขึ้น 0.13 บาท/ Kg
    • ท่อเหล็กชนิดมีตะเข็บ และตัวซี ราคาเพิ่มขึ้น 0.02 บาท/ Kg
  • เมื่อดูรายละเอียดการใช้กำลังการผลิตเหล็กของผู้ผลิตในประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 (อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย) พบว่า อุตสาหกรรมเหล็กในไทยใช้กำลังการผลิตเพียง 29% เท่านั้น ซึ่งการใช้กำลังการผลิตที่น้อยลงเช่นนี้ จะส่งผลให้ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตต่อตันสูงมากขึ้นไปอีก (ทดลองพิจารณาที่ 1.5 เท่า) และหากพิจารณาแนวโน้มการปรับราคา Ft ที่จะเพิ่มขึ้นหลังเดือนเมษายนร่วมด้วย (ทดลองพิจารณาที่ 20.8%) อาจทำให้ต้นทุนราคาเฉลี่ยในการผลิตเหล็กต่อ 1 Kg ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นได้ดังนี้
    • เหล็กเส้นกลุ่มใช้เตาหลอม เพิ่มขึ้นอีก 0.75 บาท/Kg
    • เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นอีก 0.82 บาท/ Kg
    • เหล็กรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้นอีก 0.70 บาท/ Kg
    • ท่อเหล็กชนิดมีตะเข็บ และตัวซี เพิ่มขึ้นอีก 0.08 บาท/ Kg
  • อนึ่ง ในกระบวนการผลิตเหล็ก ผู้ผลิตสินค้าเหล็กรีดร้อนส่วนใหญ่ และผู้ผลิตสินค้าเหล็กขึ้นรูปเย็น มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยส่วนใหญ่ ความร้อนที่ในการอุ่นเตาหลอมเหล็ก มาจาก ก๊าซธรรมชาติ / น้ำมันเตา / หรือถ่านหิน ในขณะที่กระบวนการขึ้นรูปเย็นมีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้กำลังเครื่องจักรเป็นหลัก 
  • อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่เราใช้ในบทความนี้ไม่สามารถอ้างอิงกระบวนการผลิตของโรงงานแหล่งหนึ่งแหล่งใด หรือเป็นตัวชี้วัดต้นทุนจริงของผู้ผลิตในไทยได้ เนื่องจากแหล่งข้อมูลไม่ได้อ้างอิงรายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตแต่อย่างใด
  • บทความนี้เป็นเพียงการชี้ให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาจากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยประมาณเท่านั้น


ติดตามบทความต่อไปได้ที่ www.vrsteel.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม / ติดตามเราได้ตามช่องทาง ดังนี้

Website : www.vrsteel.com

Line Official ID : @vrsteel

Facebook Page: VRSteel

YouTube : VRSteel

TikTok : VRSteel_Channel

โทร : 02 450 3355-6








#เหล็ก
#ผู้รับเหมา
#เช็คราคาเหล็ก
#โปรโมชั่น
#ไดนามิกไพรซ์
#โครงการขนาดใหญ่
#บทความ
#โครงการขนาดเล็ก
#วีอาร์เมมเบอร์
#แต้มคะแนน

Copyright © 2021 VRSteel. All rights reserved.

กลับสู่ด้านบน